วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การศึกษา21st century


 
 

ศิษย์ในศตวรรษที่ 21

ลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่

1.มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะ ของตน

2.ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการ ของตน

3.ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง

4.เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร

5.ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้ และชีวิตทางสังคม

6.การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม

7.ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม

8.สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการคือ

 
1.Authentic learningb การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริงดังนั้น ครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด

2.Mental Model Building การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา แต่ในความหมายข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสม

3. Internal Motivation การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคนไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่ เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะเรียนได้ไม่ดีเท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียน

4. Multiple Intelligence เด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว

5. Social Learning การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ครูเพื่อศิษย์ก็จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียน
 

ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทยในศตวรรษที่ 21

ครูจึงต้องยึดหลัก สอนน้อย เรียนมาก” คือ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่า ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้เรียนสิ่งเหล่านั้น ครูต้องทำอะไร ไม่ทำอะไร ในสภาพเช่นนี้ ครูยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น และท้าทายครูทุกคนอย่างที่สุดที่จะไม่ทำหน้าที่ครูผิดทางคือ ทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุก หรือเรียนแบบขาดทักษะสำคัญ


สาระวิชาหลัก


-ภาษาแม่ และภาษาโลก

-ศิลปะ

-คณิตศาสตร์

-เศรษฐศาสตร์

-วิทยาศาสตร์

-ภูมิศาสตร์

-ประวัติศาสตร์

-รัฐ และความเป็นพลเมืองดี

หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21

-ความรู้เกี่ยวกับโลก

-ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ

-ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี

-ความรู้ด้านสุขภาพ

-ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม

-ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

-การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

-การสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

-ความรู้ด้านสารสนเทศ

-ความรู้เกี่ยวกับสื่อ

-ความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทักษะชีวิตและอาชีพ

-ความยืดหยุ่นและปรับตัว

-การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง

-ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม

-การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ (accountability)

-ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)

ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะของการเรียนรู้ด้วย และในขณะเดียวกันก็ต้องมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งไม่เหมือนการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๐ หรือ ๑๙ ทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C3R ได้แก่

3R ได้แก่ Reading (อ่านออก)

(W)Riting (เขียนได้)

(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)

Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)

Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

พัฒนาสมองห้าด้าน

1.สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) หมายถึงมีความรู้และทักษะในวิชาในระดับที่เรียกว่าเชี่ยวชาญ (master) และสามารถพัฒนาตนเองในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

2.สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ ปฏิบัตินำ ทฤษฎีตาม

3.สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind)โดยคุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมองสร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน แล้วจึงคิดออกไปนอกกรอบนั้น

4.สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) มีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนเคลื่อนไหวเดินทางและสื่อสารได้ง่าย คนเราจึงต้องพบปะผู้อื่นจำนวนมากขึ้นอย่างมากมาย และเป็นผู้อื่นที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านกายภาพ นิสัยใจคอ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเป็นคนที่สามารถคุ้นเคยและให้เกียรติคนที่มีความแตกต่างจากที่ตนเคยพบปะได้

5.สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) สมองด้านจริยธรรมได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เรื่อยมาจนโต

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

ทุกคนต้องเรียนเพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ดังต่อไปนี้

. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา(problem solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking)
 
. การสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration)ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communicating)



. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation)ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์


ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ


 

ต้องแสวงหาวิธีการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์ (ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม) พัฒนาทักษะนี้ รวมทั้งครูก็ต้องฝึกฝนทักษะนี้ของตนเองด้วย ซึ่งการเรียนแบบ PBL ที่ครูเก่งด้านการชวนศิษย์ทบทวนไตร่ตรอง (reflection หรือ AAR) บทเรียน การตั้งคำถามของครูที่ให้เด็กคิดหาคำตอบที่มีได้หลายคำตอบ จะทำให้ศิษย์เกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ


ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


 

-ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy)

-ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy Skills)

-ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

ทักษะด้านความเป็นนานาชาติ

ต้องฝึกทักษะด้านความเป็นนานาชาตซึ่งจะช่วยสร้างความเป็นนานาชาติให้แก่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยด้วย ปัจจุบันเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้นจะช่วยให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้แก่ศิษย์ ให้มีทักษะความเป็นนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครูชาวต่างประเทศ

ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต

โดยเรียนตามพัฒนาการของสมอง ครูจะต้องเรียนรู้วิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้แก่ศิษย์แต่ละกลุ่มอายุและตามพัฒนาการของสมองเด็กแต่ละคน เพราะทักษะกลุ่มนี้สอนไม่ได้ เด็กต้องเรียนเอง และครูยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นในการคิดค้นหาวิธีออกแบบการเรียนรู้
 

แนวคิดการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์

 
สอนน้อย เรียนมาก

เป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าครูทำงานน้อยลงแต่ความจริงกลับต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต้องคิดหาวิธีให้นักเรียนเรียนได้มากขึ้น คือ ครูสอนน้อยลง แต่หันไปทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ ชักชวนนักเรียนทบทวนว่าในแต่ละกิจกรรมของการเรียนรู้

การเรียนรู้อย่างมีพลัง

จักรยานแห่งการเรียนรู้ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ Define, Plan, Do และ Reviewวงล้อมี ๒ วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู หลักสำคัญคือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน มาประกอบเข้าเป็น จักรยานแห่งการเรียนรู้แบบ PBL



-Define คือ ขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมงาน ร่วมทั้งครูด้วยมีความชัดเจนร่วมกันว่า คำถาม ปัญหา ประเด็น



-Plan คือ การวางแผนการทำงานในโครงการ ครูก็ต้องวางแผน กำหนดทางหนีทีไล่ในการทำหน้าที่โค้ช รวมทั้งเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำโครงการของนักเรียน และที่สำคัญ เตรียมคำถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสำคัญ

- Do คือ การลงมือทำ

- Review ที่ทั้งทีมนักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่ทบทวนว่า โครงการได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่
 

จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์

ความจริงเกี่ยวกับการคิด 3 ประการ ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิมได้แก่

1. การคิดทำได้ช้า

2. การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก

3. ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง

ความจำเป็นผลของการคิด

1.การกระทบอารมณ์อย่างรุนแรงทั้งด้านสุขและด้านทุกข์ ช่วยให้เกิดการจำ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าต้องมีการกระทบอารมณ์จึงจะจำ

2. การทำหรือประสบการณ์ซ้ำ ๆ จะช่วยให้จำได้ดีขึ้น แต่ไม่เสมอไป

3.ความต้องการที่จะจำ แต่บ่อยครั้งที่ลืม ทั้ง ๆ ที่ต้องการจำ

4.การคิดถึงความหมายที่ถูกต้องต่อบริบทการเรียนรู้นั้น ๆ วิธีการหนึ่งคือ ใช้โครงสร้างของเรื่อง (story structure) ในการออกแบบ

5.การเรียนรู้ และการเดินเรื่องให้นักเรียนคิดตรงตามความหมายที่ต้องการให้เรียนรู้

วิธีทำให้ศิษย์เรียนรู้ได้อย่างดี

-คิดออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้ของศิษย์ (ไม่ใช่ขั้นตอนการสอนของครู) ไว้อย่างดี ให้นักเรียนคิดในแนวทางที่ต้องการให้เรียนรู้

-ชวนนักเรียนคิดถึงคุณค่าหรือความหมายของบทเรียนนั้น ๆ96 วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

-ใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง สะเทือนอารมณ์ด้วย 4C ได้แก่ความบังเอิญ (casuality) ความขัดแย้ง (conflict) ความสลับซับซ้อน (complication) และการมีบุคลิก (character) น่าสนใจ จำง่าย สั้นกระชับ

บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้


หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากเรียนรู้จากฟังครูสอน (Learning by Attending Lecture/Teaching) มาเป็น เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing)

บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป ที่จะต้องเน้นให้แก่ศิษย์ ได้แก่

- เน้นให้ศิษย์เรียนรู้จากการลงมือทำใน PBL (Project-Based Learning)

- ส่งเสริมแรงบันดาลใจและให้กำลังใจ (reinforcement) ในการเรียนรู้

- ส่งเสริมและสร้างสรรค์จินตนาการ

-ส่งเสริมให้กล้าลองและลงมือทำ

- เป็นครูฝึกใน PBL

- ออกแบบ PBL

- มีทักษะในการชวนศิษย์ทบทวนไตร่ตรอง (Reflection) จากประสบการณ์ใน PBL

- ชวนทำความเข้าใจคุณค่าของประสบการณ์จากแต่ละ PBL

เรื่องเล่าตามบริบท :จับความจากยอดครูมาฝากครูเพื่อศิษย์

1.เตรียมทำการบ้านเพื่อการเป็นครู การสอนที่ได้ผลเป็นเรื่องของจิตวิทยา (psychology)มากกว่าการเรียนการสอน (pedagogy) ดังที่ผู้เขียนเคยได้รับคำบอกจากศิษย์คนหนึ่งว่า ครูสามารถกำหนดให้นักเรียนนั่งถือหนังสือห่วยๆ ได้ทั้งวันแต่จะไม่มีวันบังคับให้นักเรียนอ่านหนังสือนั้นได้”

2.ให้ได้ความไว้วางใจจากศิษย์ ครูต้องมีวิธีสร้างความเชื่อมั่นในศิษย์ว่าสามารถบรรลุความสำเร็จที่ มุ่งหวังได้ หากมีอิทธิบาท 4 บางคนอาจต้องมีความเพียรสูงกว่า แต่ไม่ว่าจะสำเร็จได้ง่ายหรือยาก ครูจะอยู่เคียงข้างเสมอ สร้างแรงบันดาลใจด้วยศรัทธาในตนเอง

3.สอนศิษย์กับสอนหลักสูตรแตกต่างกัน การตะลุยสอนให้ครบตามหลักสูตรไม่ใช่กิจของครูที่ดี หรือครูเพื่อศิษย์ คือเพียงแค่สอนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตร ไม่ได้พิจารณาหรือเน้นที่การเรียนรู้ของศิษย์

4.ถ้อยคำที่ก้องอยู่ในหูเด็ก จงระมัดระวังคำพูด คำพูดของครูอาจก้องอยู่ในหูเด็กไปชั่วชีวิต

5.เตรียมตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว ครูต้องเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม ๒ - ๓ สัปดาห์ เพื่อให้ตนเองพร้อมที่สุดกับการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าสู่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน ๒ - ๓ วันแรก มิฉะนั้น สภาพการเรียนของ

นักเรียนในชั้นอาจเละเทะไปตลอดปี

6.จัดเอกสารและเตรียมตนเอง การเตรียมตัวจัดระบบเอกสารช่วยให้ครูมีระบบ ไม่ต้องพึ่งความจำมากเกินไป และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.ทำสัปดาห์แรกให้เป็นสัปดาห์แห่งความประทับใจ เลิกทำตัวเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับนักเรียน นี่คือ หัวใจของการเป็นครู อย่าใช้หลักการของครูฝึกทหาร ที่ใช้หลักเอาทหารใหม่ไว้ใต้บาทาเพื่อรักษาวินัย ครูต้องใช้ความรักความเมตตานำ แต่เจือด้วยความเด็ดขาด

8.เตรียมพร้อมรับ การทดสอบครู”และสร้างความพึงใจแก่ศิษย์ นักเรียนเป็นคน คนคือสิ่งมีชีวิตที่คาดเดาพฤติกรรยาก ยิ่งวัยเรียนเป็นวัยที่คาดเดาพฤติกรรมได้ยากกว่า ครูจึงต้องเตรียมพร้อมเผชิญพฤติกรรมแปลก ๆ ซึ่งบางกรณีเป็นการท้าทายความสามารถของครู

9.วินัยไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ วินัยมี ๒ ด้าน คือ วินัยเชิงบวกกับวินัยเชิงลบ ที่น่าเสียดายคือ โรงเรียนมักจะติดการใช้วินัยเชิงลบคือ ใช้บังคับและลงโทษ แทนที่จะใช้วินัยเชิงบวก เพื่อให้อิสระและความรู้สึกปลอดภัยแก่เด็ก รวมทั้งเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ทักษะชีวิต วินัยเชิงลบจะสร้างความรู้สึกต่อต้านในใจเด็ก และจะยิ่งยุให้เด็กทำผิดหรือท้าทาย เกิดเป็นวงจรชั่วร้ายในชีวิตเด็ก ทำให้เด็กเบื่อเรียนและเสียคน

10.สร้างนิสัยรักเรียน หน้าที่ของ ครูเพื่อศิษย์” คือ นำชีวิตของนักเรียนเข้าสู่ความสนุกสนานในการเรียน (The Joy of Learning) ซึ่งจะทำให้มีนิสัยรักเรียนอย่าปล่อยให้ศิษย์ตกอยู่ใต้สภาพความทุกข์ระทมในการเรียนซึ่งจะทำให้มีนิสัยเกลียดการเรียน

11.การอ่าน ธรรมชาติของเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากประสบความสำเร็จ และการอ่านได้เป็นสิ่งหนึ่งที่ตอบสนองจิตวิทยาข้อนี้แต่เด็กหลายคนตกเป็นเหยื่อของการบังคับ การทำให้การอ่านเป็นเรื่องน่าเบื่อ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ตนเองต่ำต้อยน้อยหน้าเพราะอ่านไม่เก่งเท่าคนอื่นทำให้เกิดจิตใต้สำนึกที่เกลียดการอ่าน

12.ประหยัดเวลาและพลังงาน เคล็ดลับในการประหยัดพลังงานและเวลาของครูคือ การจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยที่ครูไม่เหนื่อยเกินไปจะหมดไฟ

มองอนาคต...ปฏิรูปการศึกษาไทย


Inquiry-Based Learning เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนตั้งคำถาม ทำความชัดเจนของคำถาม แล้วดำเนินการหาคำตอบเอาเองตามความหมายในวิกิพีเดีย IBL เป็นการเรียนแบบที่เรียกว่า Open Learning คือ ไม่มีคำถามและคำตอบตายตัว เป็นรูปแบบการเรียนที่ผู้เรียนได้ฝึกฝนความริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ

ทักษะการจัดการสอบ การมีผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcome) สองด้านคู่ขนานคือ มีทั้งวิชาและทักษะนี้ เป็นเรื่องท้าทายมาก และจะไม่มีทางบรรลุได้ หากวงการศึกษายังสมาทานความเชื่อและวัฒนธรรมว่าด้วยการสอบแบบเดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ เน้นสอบเพื่อตัดสินได้-ตก

PLC สู่ TTLC หรือชุมชนครูเพื่อศิษย์ ซึ่งก็หมายถึงชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) วิชาชีพครู ซึ่งก็คือการรวมตัวกัน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.)” การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์นั่นเอง

แรงต้านที่อาจต้องเผชิญ


1. นโยบายการศึกษายังเป็นนโยบายสำหรับยุคอุตสาหกรรม

2. ระบบตรวจสอบและระบบวัดผลแบบทดสอบตาม ที่เน้นวัดความสามารถด้านทักษะพื้นฐานเช่นการอ่าน การคิดเลข

3. แรงเฉื่อยหรือความคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบครูบอกเนื้อหาวิชาให้นักเรียนจดจำ

4. ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมพิมพ์จำหน่ายตำราเรียน

5. ความหวั่นกลัวว่าความรู้เชิงทฤษฎีจะถูกละเลย หันไปให้ความสำคัญต่อทักษะมากเกินไป

6. อิทธิพลของพ่อแม่ที่ยึดติดกับการเรียนแบบดั้งเดิมที่ตนเคยเรียนมาและทำให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน จึงอยากให้ลูกหลานได้เรียนตามแบบที่ตนเคยเรียน

สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

1.ยกเลิกระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครู (คศ.) ที่ใช้ในปัจจุบัน คือให้ ทำผลงาน” ในกระดาษ และมีการติววิธีทำผลงาน

2.มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษา แล้วคณะครูและทุกฝ่ายช่วยกันดำเนินการ เน้นที่การมี PLC ระดับโรงเรียน ระดับเขตการศึกษา และระดับประเทศ

3.ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครูนี่เป็นความชั่วที่บ่อนทำลายระบบการศึกษาไทย

4.แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา ครึ่งหนึ่งไปไว้สนับสนุนการเรียนรู้ของครูประจำการในลักษณะการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ครู

5.จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปี ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เชิญครูที่มีผลงาน โรงเรียนที่มีผลงาน และเขตการศึกษาที่มีผลงาน มาเล่าแรงบันดาลใจ วิธีการ และวิธีเอาชนะอุปสรรค

6.ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET) ให้ทดสอบการคิดที่ซับซ้อน (complex thinking) และทักษะที่ซับซ้อน (complex skills)

7.ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL) โดยส่งเสริมให้มี PLC ของครูที่เน้นจัดการเรียนรู้แบบ PBL ให้รางวัลและยกย่องครูที่จัด PBL ได้เก่ง เพราะ PBL เป็นเครื่องมือให้นักเรียเรียนรู้ในมิติที่ลึกและซับซ้อน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น